วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558



                 Vincent Van- Gogh

Vincent van Gogh photo cropped.jpg
วินเซนต์ แวน โก๊ะ (30 มีนาคม ค.ศ. 1853 — 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในลัทธิประทับใจยุคหลัง (post-impressionism) ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะสมัยใหม่ด้วยผลงานที่สีสันสดใสและมีผลกระทบทางอารมณ์ เขามีอาการของโรควิตกกังวลและต้องต่อสู้กับอาการป่วยทางจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในบั้นปลายชีวิต จนกระทั่งเสียชีวิตด้วยแผลที่ยิงตัวเองเมื่ออายุ 37 ปี
เขาไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับตอนที่มีชีวิตอยู่ แต่เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นหลังจากเสียชีวิตแล้ว ทุกวันนี้เขานับเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งและเป็นผู้มีอิทธิพลต่อพื้นฐานของศิลปะสมัยใหม่ ฟัน โคค เริ่มวาดรูปเมื่อเขาอายุย่างเข้า 20 ตอนปลาย และผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเขาถูกวาดในระยะ 2 ปีสุดท้ายของชีวิต เขาสร้างผลงานมากกว่า 2,000 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยภาพเขียน 900 ชิ้น ภาพวาดและแบบร่าง 1,100 ชิ้น ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะนวยุคนิยมที่ตามมา ปัจจุบันผลงานหลายชิ้นของเขา เช่นภาพเขียนตัวเอง ภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน และดอกทานตะวัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและแพงที่สุดในโลก



ภาพวาดตัวเอง (Self- portrait) ของ van gogh
                                                   
The Starry Night 


                  นักประวัติศาสตร์ศิลปะหลายคนวิเคราะห์ฝีแปรงที่ดูรุนแรงแบบนี้ ว่าสะท้อนถึงสภาพจิตใจของ van gogh ที่แปรปรวน ฉุนเฉียวและรุนแรง ... รุนแรงอย่างไร ก็ขอให้กลับไปดูภาพข้างบนใหม่อีกที จะเห็นว่า ศีรษะด้านขวาของ van gogh โดนหุ้มอยู่ด้วยพ้าพันแผล นั่นก็เพราะว่าเขาเฉือนหูตัวเองออกไปเอง!!! (ติ๊สท์แบบเลือดโชก มากมายยย) …. ก็เพราะว่า Van gogh เป็นคนเก็บกด ฉุนเฉียว อย่างนี้ถึงอยู่กับใครๆได้ค่อนข้างลำบาก ... และก็หาคนเข้าใจเขายากเต็มที .. ประวัติชีวิตที่ค่อนข้างอาภัพ บวกกับผลงานภาพวาดที่ยิ่งใหญ่จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ Don Mclean เขียนเพลง Vincent ให้กับเขา





 Starry, starry night.
Paint your palette blue and grey,
Look out on a summer's day,
With eyes that know the darkness in my soul




    วาดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1889 

เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนพื้นผ้าใบ ขนาดภาพ 72 x 92 ซม. (29 x 36 1/4 นิ้ว) 


สถานที่แสดง The Museum of Modern Art เมืองนิวยอร์ก

วินเซนต์ได้กล่าวถึงภาพ " Starry Night " นี้ว่า "ฉันกำลังประสบกับปัญหาอย่างมากใน การเขียนภาพของยามค่ำคืน ถ้าพูดให้ถูกแล้วก็คือ การถ่ายถอดภาพลงบนผืนผ้าในเวลา กลางคืนก็ได้ " ภาพของแสงสีในยามค่ำคืนนั้น เป็นภาพที่เขาใฝ่ฝันอยากเขียนขึ้นและความฝันของเขาก็ได้กลายมาเป็นความจริง เมื่อเขาตัดสินใจย้ายมา อยู่ที่เมืองอาเรส ในเดือนกุมภาพันธ์ของปี ค.ศ. 1888 ในจดหมายเขาได้กล่าวไว้ว่า 


" ในชีวิตของจิตกรแล้ว ความตายอาจไม่ใช่ความยากลำบากที่สุดในชีวิต ฉันสามารถพูดได้ว่า ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย แต่เมื่อฉันได้มองดูดวงดาวแล้ว ฉันก็เริ่มนึกคิดจุดดำมืดที่แสดง ถึงภาพของเมือง และหมู่บ้านในแผนที่ ทำให้ฉันคิดว่าทำไมมนุษย์เราถึงได้ให้ความสำคัญของ จุดดำมืดที่อยู่บนแผนที่ของฝรั่งเศษ มากไปกว่า แสงสว่างอันแท้จริงที่ส่องตรงมาจากสวรรค์ มันก็คงเหมือนกับการที่เราเลือกไป รถไฟเพื่อจะไปยังทาราสคอน หรือโรน หรือเราจะเลือก เอาความตายเพื่อจะไปให้ถึงดวงดาวบนฟ้านั่น "



Vegetable Gardens in Montmartre 
วาดในปี ค.ศ.1887 ขนาดภาพ 96 x 120 ซม.



Landscape at Saint-Romy วาดเมื่อปี ค.ศ.1889 
สถานที่แสดง Ny Carlsberg Glypotek เมือง Copenhagen




















Still Life With Four Sunflowers 
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ. 1887 เมือง Otterlo


Montmartre
































วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558






                                 c'est  moi !

  

              

                 Je m'applle Aom.
                 J' ai seize ans.
                 J'ai les cheveux noirs et les yeux noirs.
                 Je suis petite.
                 Je  porte un t-shirt blanc et un short      noir.

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558


How are you ? 



เบื่อรึยังที่ต้องตอบว่า" I’m fine, Thank you and you ? 





ลองตอบ 


I’m doing well = ก็โอเคดีเลยนะ

I’m alright = ก็ดีอ่ะครับ/ค่ะ

 I’m coo = ก็โออ่ะ

เท่านี้ก็ทำให้บทสนทนาดูมีสีสันขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

   ABF และ CBF คืออะไร?? เรามารู้จักกันเถอะ 

breakfast คือ อาหารเช้า


          ABF   หมายถึงAmerican breakfast อาหารเช้าแบบอเมริกัน จะเน้นพวกเนื้อ ไข่ดาว แฮม เป็นอาหารเช้าที่ค่อนข้างหนัก


 



        CBF  หมายถึง Continental Breakfast  (continent = ทวีป)

อาหารเช้าแบบภาคพื้นยุโรป เป็นอาหารเช้าที่เบาๆและเรียบง่าย

ประกอบไปด้วยขนมปังต่างๆ
เช่น 
ครัวซองต์ (Croissant)
 























วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558





              คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งขึ้นเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นคณะที่ 3 ของมหาวิทยาลัย ต่อจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตนักโบราณคดีไปปฏิบัติงานดูแลรับผิดชอบ การอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนปฏิบัติงานสนามทางโบราณคดีให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นคณบดีท่านแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 คณะโบราณคดีได้ปรับปรุงการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยขยายขอบเขตการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นๆ อีกนอกเหนือจากการผลิตนักโบราณคดี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งก็คือการเพิ่มสาขาวิชาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เพื่อให้บัณฑิตสามารถใช้ภาษาในชีวิตประจำวันได้อย่างเชี่ยวชาญและนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้
คณะโบราณคดี ทำการเรียนการสอนตลอด 4 ปีการศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ โดยมีศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นหน่วยงานเสริมเพื่อทำการเรียนการสอนแก่นักศึกษาคณะโบราณคดีสาขาภาษาไทย รวมถึงวิชาโทบาลี สันสกฤต นอกจากนี้คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ยังถือเป็นที่เดียวในประเทศไทยที่มีการเปิดการเรียนการสอนในภาควิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะเป็นวิชาเอกอีกด้วย

ประวัติคณะและการเรียนการสอน
คณะโบราณคดีได้ตั้งขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดี ของกรมศิลปากร หรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดี เพื่อเป็นการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อดูแล รักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีอยู่ทั่วประเทศไทยให้คงอยู่อย่างยาวนานเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป โดยในส่วนของสาขาโบราณคดีนั้นจะเน้นการขุดค้นโบราณวัตถุเพื่อการศึกษาในเรื่องที่สนใจ ส่วนสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะจะเน้นการศึกษารูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรม วมถึงภาพเขียนในแต่ละยุคสมัย เพื่อเข้าใจในการสื่อความหมาย รวมถึงอิทธิพลที่ส่งผลต่องานศิลปะนั้นๆ และสาขามานุษยวิทยาเป็นการศึกษามนุษย์เพื่อเข้าใจพฤติกรรมต่างๆที่ส่งผลต่อสังคมและคนรอบข้าง

ในแรกเริ่มนั้นยังไม่ได้มีการเปิดสอนทางด้านภาษา ต่อภายหลังมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับตลาดแรงงานในปัจจุบันมากขึ้น จึงได้มีการเปิดสอนในภาควิชาภาษาตะวันออกและภาษาตะวันตก โดยในภาควิชาภาษาตะวันมีสาขาภาษาไทยเป็นวิชาเอก ส่วนภาควิชาภาษาตะวันตกประกอบด้วยสาขาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนภาษาเพื่อการนำไปใช้ประกอบอาชีพเฉกเช่นเดียวกับคณะมนุษย์ศาสตร์หรือคณะศิลปศาสตร์ ถึงแม้จะมีการเพิ่มคณะวิชาภาษาตะวันออกและภาษาตะวันตกซึ่งเป็นสาขาที่เน้นศึกษาภาษาล้วนๆเข้ามาแต่ก็ยังคงใช้ชื่อคณะว่าคณะโบราณคดีตามเดิมเพื่อเป็นการคงเอกลักษณ์ของคณะที่มีมานานไว้นั่นเอง และเนื่องด้วยการเปิดสอนในสาขาที่ครอบคลุมทั้งด้านสังคมและภาษา ทำให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพต่างๆได้ เช่น นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ศิลปะ นักมานุษยวิทยา มัคคุเทศก์ นักเขียน นักเขียนสารคดี พนักงานโรงแรม พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ประชาสัมพันธ์ นักข่าว อาจารย์สอนภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ
 ปรัชญาคณะ
"ศึกษามนุษย์ ขุดค้นก้าวหน้า ภาษาเชี่ยวชาญ สืบสานศิลปวัฒนธรรม"


 เพลงประจำคณะ
 เพลงของคณะโบราณคดีนั้นถูกแต่งไว้มากกว่า 20 เพลง เพื่อใช้ในกิจกรรมสันทนาการต่างๆ เช่น การชนช้างหรือการเข้าค่ายคณะ เป็นต้น แต่เพลงที่ได้รับการยอมรับและถือเป็นเพลงประจำคณะคือเพลง "แววมยุรา" ซึ่งถูกแต่งโดยพิเศษ สังข์สุวรรณ ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี เพลงแววมยุราถูกแต่งขึ้นในช่วงที่เรียกว่าเป็นช่วงวิกฤตของคณะก็ว่าได้ เนื่องจากในช่วงปีพ.ศ. 2513 มีแนวโน้มจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าต้องการให้คณะโบราณคดีถูกยุบไปรวมกับคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งก็ถูกหลายฝ่ายค้านไว้ โดยเฉพาะนักศึกษาคณะโบราณคดีที่ได้ออกมาคัดค้านอย่างชัดเจน จึงเป็นที่มาของเพลงแววมยุราที่ในเพลงมีการแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่คณะโบราณคดีถูกมองข้ามและไม่ได้รับการเหลียวแลหรือเห็นค่า พิเศษ สังข์สุวรรณยังได้เปรียบเปรยดอกแววมยุราซึ่งเป็นดอกของผักตบชวาที่แม้ผักตบชวาจะล่องลอยไปตามน้ำอย่างไร้ค่าแต่เมื่อผลิดอกสีม่วงและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทุกคนก็จะเห็นค่าของมัน เฉกเช่นเดียวกับชาวคณะโบราณคดีที่ในตอนนั้นไม่ได้รับความเห็นค่า แต่หากสามัคคีและไม่ช่วยกันผ่านวิกฤตไปด้วยกันก็จะเป็นดอกแววมยุราที่งดงาม และดอกแววมยุราก็มีสีม่วงเฉกเช่นเดียวกับสีคณะโบราณคดีอีกด้วย
นอกจากนี้เพลง สวัสดีศิลปากร ยังเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกแต่งโดยคณะโบราณคดี ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2538 จึงได้มีการแต่งเพลงนี้เพื่อใช้ในการหาเงินบริจาคให้ผู้ประสบภัย ภายหลังก็ได้มีการใช้เพลงนี้ในทุกกิจกรรมและใช้ร้องกันในทุกคณะของมหาวิทยาลัยศิลปากร


เกร็ดความรู้
-สีประจำคณะ คือ สีม่วง หรือ สีม่วงเม็ดมะปราง ตามโครงการอนุรักษ์และส่งเสริมโทนสีของไทย เพื่อเป็นกิจกรรมหนึ่งเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งไม่ได้อนุมัติประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
-การสอบเข้ามหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2548 คณะโบราณคดี วิชาเอกภาษาไทย เป็นสาขาวิชาที่มีผู้เลือกสมัครมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย
-สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะโบราณคดี เป็นสาขาวิชาที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคณะที่มีความเด่นทางและเข้มแข็งทางวิชาการด้านภาษาฝรั่งเศสเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการจัดอันดับของสมาคมฝรั่งเศส
-ปี 2549 ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคณะที่มีศักยภาพการเรียนการสอนเป็นอันดับ 9 ของกลุ่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากการจัดอันดับของ สกอ.
-การสอบเข้ามหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2552 คณะโบราณคดี วิชาเอกมานุษยวิทยา เป็นสาขาวิชาที่มีผู้เลือกสมัครมากเป็นอันดับ 8 ของประเทศไทยสาขาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ไม่ได้สอนภาษาโบราณหรือโบราณคดีภาคภาษาต่างประเทศแต่อย่างใด แต่เป็นการสอนให้ใช้ภาษาได้อย่างเชี่ยวชาญเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เหมือนคณะมนุษย์ศาสตร์หรือศิลปศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยอื่นทุกประการ

รุ่น 19  ถ่ายที่ระเบียงตำหนักพรรณรา
อาคารเรียนคณะโบราณคดีเมื่อ พ.ศ.2516
ประตูทางเข้า "คณะโบราณคดี" พ.ศ.2519 รุ่น 20

ภาพโบราณคดี รุ่น 32 ไปออกฟิลด์ทริป วิชาศิลปะสุโขทัย






วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

โลหะปราสาท

 โลหะปราสาท 
      โลหะปราสาท   เป็นศาสนสถาน ที่อยู่ในวัดราชนัดดารามวรวิหาร  โลหะปราสาท  หมายถึง  คฤหาสน์ที่มียอดเป็นโลหะ  เป็นโลหะปราสาท แห่งที่  3  ของโลก ที่ยังคงสมบูรณ์ที่สุด  และเหลือเพียงแห่งเดียวในโลก  โดยที่โลหะปราสาทแห่งแรกในประเทศอินเดีย และแห่งที่สองในประเทศศรีลังกา  ซึ่งได้ถูกทำลายไปแล้ว


    โลหะปราสาทหลังที่ 1
 
     สร้างขึ้นโดยนางวิสาขา  บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี โดยการประมูลราคาเครื่องประดับของตน ชื่อ "มหาลดาประสาธน์" เป็น 9 โกฏิ  1  แสน  แล้วนำเงินสร้างที่อยู่ให้พระสงฆ์  มีลักษณะเป็นปราสาท  2  ชั้น  1,000 ห้อง  ยอดปราสาททำด้วยทองคำมีชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท"
    โลหะปราสาทหลังที่ 2
    พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย  กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระ ทรงสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 382  ตามคำทำนายในแผ่น พระสุพรรณบัฏขิง พระมหินทเถระที่ทรงได้พบ  โปรดฯ  ให้สร้างแบบทิพยพิมานที่ทอดพระเนตร  มีความกว้างและสูงด้านละ  100  ศอก  มี  9  ชั้น  1,000  ห้อง  หลังคามุงด้วยแผ่นทองคำ  ผนังเป็นไม้ประดับหินมีค่าและงานช้าง  ปัจจุบันเหลือแต่ซากปราสาท  ซึ่งประกอบด้วยเสาหิน ประมาณ  1,600  ต้น
    โลหะปราสาทหลังที่ 3
    เป็นโลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร  สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดช่วยให้ช่างออกแบบก่อสร้าง ตามลักษณะของโลหะปราสาท ที่พรรณนาไว้ในหนังสือมหาวงศ์ พงศาวดารลังกา  ซึ่งพระเจ้า่ทุฏฐคามณีอภัย กษัตริย์ลังกาทรงสร้างไว้ เมื่อพุทธศักราช 387  ในพุทธศักราช  2394  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงทรงโปรดกระหม่อม ให้สร้างโลหะปราสาทขึ้นที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร  การสร้างโลหะปราสาทของพระองค์ เป็นการสร้างแทนการสร้างเจดีย์  โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต  บุนนาค) ขณะยังเป็นพระยาพิพัฒน์รัตนราชโกษา  ดำรงตำแหน่งอธิบดีก่อสร้างช่างสิบหมู่และช่างศิลา  เป็นแม่กลองดำเนินการก่อสร้าง  การออกแบบก่อนสร้าง  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้สร้างเดินทางไปดูแบบโลหะปราสาท  ณ ลังกาประเทศ  โดยนำเค้าเดิมมาเป็นแบบ แล้วปรับปรุงให้เป็นสถาปัตยกรรม ตามลักษณะศิลปกรรมไทย